ศูนย์การจัดการและบ่มเพาะธุรกิจ (Business Incubation and Management Center)
โครงการศูนย์ การจัดการและบ่มเพาะธุรกิจ จัดตั้งขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ส่งเสริมให้นำศักยภาพที่มีอยู่ในตัวเรา ทุกคนออกมาใช้เชิงสร้างสรรค์ (ตามแนวคิด Diamond Model) รวมถึงการจัดการให้กับธุีรกิจขนาดย่อย โดยมุ่งหวังให้สมาชิก เป็นนักธุรกิจมีศักยภาพ ดุจดั่ง เพชร (Diamonds Are Forever)

วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

สร้างธุรกิจส่วนตัว: ปฐมบท

ปฐมบท



ชื่อเรียกง่าย ทำก็ง่าย และทำแล้ว ก็เลิกได้ง่าย เพราะทำแล้วมันโตยาก
ถ้าคิดจะทำธุรกิจส่วนตัวกันแล้ว ไม่ใช่เรื่องใจ กล้าเสี่ยงเป็นเสี่ยงกัน แต่เป็นเรื่อง ความรู้ ที่ต้องรู้จริง ดังนั้นผู้คนที่อยากเป็นเจ้าของธุรกิจส่วนตัว จึงยอมจ่ายค่าแฟรนไชส์เพื่อแลกความรู้ ซึ่งก็ไปวัดดวงกันว่าความรู้ที่ได้กับเงินที่จ่ายไปคุ้มหรือเปล่า
ถ้าที่ไหนเค้ามีการประชุม สัมมนาสินค้า หรือ ความรู้ธุรกิจ คนที่ฝันอยากมีธุรกิจเป็นของตัวเองต้องกระโจนเข้าหา เพื่อรับทราบข้อมูลอย่าได้ขาด เดี่ยวตกเทรนด์ หรือ คกกระแส เพราะความต้องการของผู้บริโภคเปลื่ยนแปลงตลอดเวลา
ถ้าอยากเดินหน้าก็อย่ากลัวว่า จะสะดุด และควรมีความมั่นใจสุดๆ ด้วย ถึงจะฝ่าฟันไปถึงความฝันที่วาดหวังไว้ ใครนะไม่เคย มั่งอ่ะ

การมีธุรกิจเป็นของตัวเอง ต้องมีปัจจัยอะไรในเบื้องต้นบ้าง เช่น.....

1. มีเป้าหมาย
เพราะบางคนแค่ฝันอยากทำ แต่ไม่คิดลงมือลงแรง หรือบางคนขอแค่ธุรกิจเล็กๆ แบบ รถเข็นขายก๋วยเตี๋ยว, ขายกาแฟ แต่บางคน ท่านคิดทำการใหญ่ขึ้นมาอีกนิดนึง แบบเป็นธุรกิจมั่นคงยั่งยืน บางคนชอบขายของในห้างแบบมีพื้นที่หลักแหล่งแน่นอน ตกแต่งสวยงาม ยอมทนจ่ายค่าเช่ามหาโหดเพราะกลัวอยู่นอกห้างฯจะขายไม่ได้ราคา ฯลฯ แบบนี้เป็นเป้าหมายเบื้องต้นที่คุณต้องศึกษาหาข้อดีข้อด้อยตามศักยภาพและปัจจัยที่คุณมี อีกลักษณะหนึ่ง ของเป้าหมายเบื้องต้น คือ ไอ้เจ้าธุรกิจที่อยากทำนั้น มันมีวี่แววจะไปรอดหรือเปล่า หรือถ้าธุรกิจที่อยากทำแม้จะมีคนทำเยอะแยะมากมายแต่คุณมีระบบใหม่ๆ เหล่านี้คุณต้องรู้จริง (แค่คิดเอาเอง หรือ มั่นใจแต่ไม่รู้จริง พังมาเยอะแล้วครับ) สรุป คือ เป้าหมายชัด แผนธุรกิจเจ๋ง ทำงานแบบมืออาชีพเรียกพี่ และ มีจุดแข็งด้านสินค้าหรือบริการที่แตกต่าง
2. ต้องลงทุน จะสร้างรายได้หลักแสนด้วยเงินลงทุนหลักร้อย ในธุรกิจมันไม่มีทางครับ แต่การใช้เงินจากน้อยไปสู่เงินมาก มีครับ ดังนั้นต้องเช็คสุขภาพทางการเงินของตัวเองก่อน แล้วเริ่มต้นตามทุน หากมีทุนน้อยเริ่มแบบเล็กๆ (เรื่องคิดการใหญ่ไม่ห้ามนะครับ แต่ต้องมีการวางแผนที่ดีด้วยครับ) ทำในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ มันก็เจ๊ากะเจ๊งครับ ทำคนเดียว คิดคนเดียว เดี่ยวจะท้อใจ (หาข้อมูลก่อนให้แน่นๆ) สรุปขัดๆ คือ มีเงินลงทุนเป็นถุงเพราะต้องเผื่อรองรับความเสี่ยง และ งบประมาณที่บานปลาย
3. ต้องลงมือ บางคนกลัวการลงทุนแล้วเจ๊ง เลยได้แต่คิดได้แต่ฝัน พอเจอใครก็เที่ยวไปขายไอเดียตัวเอง (อยากมีบุตรแต่ไม่กล้ามีสามีมันฝืนธรรมชาติครับ) จึงอยากจะบอกว่าต้องทำจริงๆจังๆครับ บางคนอาจหาหุ้นส่วนมาช่วยคิด ช่วยกระจายความเสี่ยง แต่ธุรกิจส่วนตัวพื้นฐานคือธุรกิจเริ่มต้นขนาดเล็กแบบเป็นส่วนตน ดังนั่น คิดให้ดีครับ วิธีหาเพื่อนช่วยคิด หรือ หาผู้รู้จริงมาแนะนำมีเยอะแยะมากมาย เรื่องต่อไปเป็นหัวใจของข้อนี้เลย คือ มีแรงฮึดที่จะแก้ไขปัญหาฝ่าฟันอุปสรรค

ขออวยพรให้ประสบ ความสำเร็จทั่วหน้าจ้ะ..


บทความนี้จะนำเสนอเป็นตอนๆ โดยเรียบเรียงจากงาน ABO by อ.ตำรา ประภาเวสัง

วันศุกร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2554

แนวความคิดทางการตลาดสมัยใหม่ ตอนที่3 Multi Channel Approach



การเข้าถึงลูกค้าแบบหลายช่องทาง (Multi Channel Approach)

จากกลยุทธ์Multiple Channels ในการตลาดแบบดั่งเดิม สู่ Multi Channel Approach Strategy ในการตลาดแบบดั่งเดิม มักจะกำหนด P-Place แบบ multiple channels เพราะเป็นระบบที่ผู้ผลิตมุ่งเสนอและกระจายสินค้าผ่านหลายๆ ช่องทาง ที่จะทำให้สินค้าได้กระจายออกไปถึงกลุ่มลูกค้าได้อย่างทั่วถึงโดยอาจมีร้านค้าปลีกของตนเอง พร้อมๆ กับการขายผ่านพ่อค้าส่ง-พ่อค้าปลีกรายอื่นๆ และ ขายผ่านCatalogs การใช้โทรศัพท์ การสั่งซื้อขายผลิตภัณฑ์ผ่านทางเครื่อง ATM หรือ การตั้งร้านค้าย่อยๆ แบบ Kiosk ในศูนย์การค้าร่วมด้วย
ตามที่กล่าวข้างต้นจะพบว่า“Multiple Channels”ให้ความสำคัญน้อยในเรื่อง “Cross Channel”  ซึ่งหมายถึงการ Link ระหว่างช่องทางที่แตกต่างกัน เพื่อเสริมกันและช่วยให้เกิดการขายสินค้าให้ได้มากขึ้น รวมไปถึงการช่วยให้บริการลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น ฯลฯ
ในปัจจุบันจึงมีการสร้างกลยุทธ์ Multi Channel Approach ที่เป็น การผสมผสานช่องทางต่างๆ ในการสื่อสารและการส่งมอบสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้า การผสมผสานนี้ให้ความสำคัญกับการมี Linkage ที่จะเสริมแรงร่วมกันในแบบต่างช่องทาง เพื่อสร้างพลังดึงดูดลูกค้า รักษาและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นกับลูกค้า 
ช่องทางหลักใน Multi Channel Approach ในปัจจุบัน ได้แก่
 (1)     Physical Store – the “Brick”
 (2)     Internet – the “Click”
 (3)     Mail or Catalog – the “Flip”

“Multi-Channel Approach” คือ กลยุทธ์ที่มุ่งสนองตอบลูกค้าแบบทันท่วงที
            Multi-Channel Approach ทำให้ลูกค้ามีทางเลือกที่จะ ‘shop’ สินค้าจากร้านค้า, Web Site, Catalogs หรือ บุคคล ทีเราเรียกรวมว่า‘Bricks, Click and Flip’ ลูกค้าจะได้รับความสะดวกที่สุดในเวลาที่ต้องการ ด้านการบริการและการให้ข้อมูลก็จะเป็นแบบทันทีตามที่ต้องการ รวมทั้งมีการตอบสนองโต้ตอบกันได้ ดูข้อมูล จากChannelหนึ่งแล้วไปซื้อจากอีกChannelหนึ่งก็ได้
ผลจากการวิจัยเกี่ยวกับ “Multi-Channel Approach” ที่สหรัฐฯ พบว่า
·       Multi-Channel ทำให้ลูกค้าจับจ่าย ซื้อสินค้าเพิ่มขึ้นถึง 30% เมื่อเปรียบเทียบกับ One-Channel
·       35% ของลูกค้าของร้านค้าปลีกเป็น ‘Multi-Channel Customers’ คือลูกค้าที่มีการใช้บริการทั้งในร้านค้า พร้อมกับรับข้อมูลหรือซื้อจาก Web Site และจาก Catalogs 
·       ผู้หญิงโดยเฉลี่ย 46% เข้าไปใน Web Siteของร้าน ก่อนไปซื้อสินค้าที่ร้าน และ 37% ชมสินค้าจาก Catalogs ก่อนไปซื้อสินค้าจากร้าน
·       80% ของผู้ซื้อเครื่องสำอางยี่ห้อหนึ่ง เข้าไปเยี่ยมชม Web site ของสินค้า ภายหลังจากซื้อสินค้าจาก Store ไปแล้ว และ 37%ของผู้ซื้อเครื่องสำอางยี่ห้อนี้เป็นครั้งแรก ได้เข้าไปเยี่ยมชม Web site มาก่อนหน้าที่จะซื้อ



Multi Channel Approach musts 
·       การใช้กลยุทธ์ การเข้าถึงลูกค้าแบบหลายช่องทาง ต้องเน้นเชิงกลยุทธ์ และ มีการวัดผลในแง่ความพอใจของลูกค้า
·       ออนไลน์และออฟไลน์ ต้องผสมผสาน รวมฟังก์ชั่นการตลาดของคุณ แทนที่จะแยกกันเก็บไว้ในลิ้นชัก
·       เกิดประสิทธิผลของการขยายช่องทาง ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลของลูกค้ารวมกัน Push เว็บไซต์ของคุณ และLinkageกับฐานลูกค้าออฟไลน์
·       รวบรวมข้อมูลของลูกค้าผ่านทุกช่อง เช่น ในระหว่างการซื้อของ ลูกค้าร้านถัดไป ทางไปรษณีย์ ทางอีเมล 
·       ผู้ซื้อ Cross Channel มักคาดว่าจะได้เห็นข้อเสนอโปรโมชั่นดีๆ หรือมากกว่า ในช่องทางออนไลน์ มากกว่าแบบออฟไลน์ ในขณะเดียวกันมักจะใช้สื่อออนไลน์เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ และตัดสินใจซื้อแบบออฟไลน์ 
·       ปฏิทินส่งเสริมการขายจึงควรจะสอดคล้องกัน(ไม่เหมือนกัน) มีโปรโมชั่นออนไลน์ที่ไม่ซ้ำกันจะสามารถเพิ่มความถี่ในการซื้อของลูกค้าได้สูง 
·       พนักงานของทุกกิจกรรมจะต้องอำนวยความสะดวกและช่วยเหลือ ล​​ูกค้า รวมทั้งการให้โปรโมชั่นแก่ลูกค้า โดยไม่คำนึงถึงช่องทางที่ใช้ 
·       บูรณาการกลยุทธ์สำหรับกลุ่มลูกค้าต่างๆ และ ต้องมีการสื่อสารที่แตกต่างเพื่อสร้างยอดขายที่เพิ่มขึ้น เช่น แคตตาล็อก และ Responders mail

แนวความคิดทางการตลาดสมัยใหม่ ตอนที่2 IMC



การสื่อสารทางการตลาดสมัยใหม่

ปัจจุบันกระบวนการสื่อสารถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการดำเนินการส่งเสริมการตลาดหลายรูปแบบ   โดยสามารถเลือกใช้การสื่อสารที่เหมาะสมและสอดคล้องกับผลิตภัณฑ์ของตนเองให้มากที่สุดเพื่อให้ผลของการส่งเสริมการตลาดตรงตามเป้าหมายที่วางไว้
การสื่อสาร (Communication) ถือเป็นกระบวนการพื้นฐานหนึ่งของสังคมซึ่งตามแบบจำลองปริวรรตการสื่อสาร (Transmission Modelมีองค์ประกอบหลักๆ อยู่ 4 องค์ประกอบ ดังนี้ คือ ผู้ส่งสาร (Sender) สาร (Message) ช่องทางการสื่อสาร (Channel) และ ตัวผู้รับสาร (Receiver) โดยทั่วไป
การสื่อสารการตลาด ( Marketing Communication) คือ รูปแบบของการสื่อสารที่มีผู้ส่งสารคือ ผู้ผลิต, ผู้จัดจำหน่าย, บริษัทตัวแทนโฆษณา, พนักงานขาย ส่งข่าวสาร ผ่านช่องทางการสื่อสารประเภทต่างๆ หรือ ส่งตรงไปยัง ผู้รับข่าวสาร ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมาย โดยมีวัตถุประสงค์ให้ผู้รับข่าวสารตอบสนองไปในเชิงธุรกิจ



ในแวดวงเอเยนซี่โฆษณา เรามักคุ้นเคยคำว่า Above the line และ Below the line สำหรับ นักการคลาดทางตรง บางท่านอาจจะยังสงสัยบ้าง บทความนี้ จึงนำมากล่าวพอสังเขป ดังนี้
Above the line คือ การใช้สื่อมวลชนเป็นหลัก เป็นการให้ความสำคัญการใช้เครื่องมือสื่อสารการตลาด ในรูปแบบของการทำโฆษณาผ่านสื่อกระแสหลักต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ นิตยสาร หนังสือพิมพ์ หรือ สื่อสาธารณะอื่นๆ
ส่วน Below the line คือ การสื่อสารการตลาดที่ไม่ผ่านสื่อมวลชน ใช้การสื่อสารผ่านสื่อเฉพาะกลุ่ม หรือ ตัวกลางรูปแบบอื่นที่มีคุณสมบัติและธรรมชาติเป็นรูปแบบการสื่อสารการตลาด ที่เจาะตรงถึงกลุ่มเป้าหมายหรือเจาะเฉพาะ ตามฐานข้อมูล
ดังนั้น หากนักกลยุทธ์ หรือ นักการตลาด สามารถนำแนวคิดทั้งสองมาบูรณาการกันได้อย่างเหมาะสม ย่อมเกิดผลกระทบเชิงบวกต่อตราสินค้า ได้มากกว่าการใช้รูปแบบการสื่อสารการตลาดเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง และ นี่คือ การสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการ (Integrated Marketing Communication: IMC)

แนวความคิดทางการตลาดสมัยใหม่ ตอนที่1 บทนำ




การตลาดคืออะไร

Phillips Kotler ได้อธิยายไว้ว่า การตลาดที่แท้จริง คือ "กระบวนการทางสังคม ที่บุคคล หรือ กลุ่ม จะพยายามให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ตนต้องการจากบุคคลอื่น โดยการสร้างสรรค์และนำเสนอคุณค่าบางอย่างที่เป็นที่พอใจของอีกฝ่ายหนึ่งเป็นการแลกเปลี่ยน"
นั่นคือการสร้างบรรยากาศแห่งการแลกเปลี่ยน ที่มีความพอใจและคุณค่าของทั้งสองฝ่ายเกิดขึ้น ดังนั้นการจะนำกลยุทธ์ทางการตลาดมาใช้ กับงานห้องสมุดและบริการข่าวสาร ทำได้ด้วย การหาแนวทางสร้างสรรค์คุณค่าบริการ หรือ การสื่อสารคุณค่า และ เพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงให้แก่ผู้ใช้บริการ ให้เกิดความพอใจนั่นเอง 

(ในปัจจุบัน คำว่า "การตลาด" หรือ "นักการตลาด" มักถูกเข้าใจคลาดเคลื่อนไปจากความหมายที่แท้จริง กล่าวคือ ผู้คนบางกลุ่มเข้าใจไปในทางลบว่า เป็นงานหรือบทบาทหน้าที่ดึงดูด (หรือ ล่อลวง) หรือ จูงใจ ให้เกิดการซื้อโดยหลงผิดแก่ผู้บริโภค ซึ่งถ้าเป็นการกระทำดังกล่าว เราจะไม่เรียกว่า “การตลาด” แต่ควรเรียกว่า “การฉ้อโกง” และถ้าบุคคลใดที่กระทำพฤติกรรมดึงดูดให้หลงผิด เราก็ไม่เรียกว่า “นักการตลาด” แท้จริงแล้วบุคคลนั้นเป็น “นักล่อลวง” เพราะ “การตลาด” ต้องเป็นกระบวนการภายใต้กรอบของศีลธรรมและจริยธรรมในสังคม)


แนวความคิดทางการตลาดสมัยใหม่

แนวความคิดทางการตลาด หมายถึง  แนวทางของธุรกิจ ที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการจัดสรรทรัพยากรของกิจการ  เพื่อสร้างสรรค์ความพึงพอใจให้กับลูกค้า(สูงสุด) ในระดับที่กิจการได้กำไร
วิวัฒนาการของแนวความคิดทางการตลาด
1.      แนวความคิดที่มุ่งการผลิตเป็นหลัก  (Production  Orientation  Concept)
2.      แนวความคิดที่มุ่งตัวผลิตภัณฑ์เป็นหลัก  (Product  Orientation  Concept)
3.      แนวความคิดที่มุ่งการขายเป็นหลัก  (Sales  Orientation  Concept)
4.      แนวความคิดที่มุ่งตลาดเป็นหลัก  (Market  Orientation  Concept)
5.      แนวความคิดที่มุ่งสังคมเป็นหลัก  (Social  Orientation  Concept)

เปรียบเทียบแนวความคิดทางการตลาดสมัยเก่า  กับ แนวความคิดทางการตลาดสมัยใหม่
·        แนวความคิดสมัยเก่า  (Old  Marketing  Concept) มุ่งการผลิตเป็นหลัก
·        แนวความคิดสมัยใหม่  (New  Marketing  Concept) ความสำคัญอยู่ที่ผู้บริโภค 

วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2554

เมื่อ นวัตกรรมทางเทคโนโลยีด้านชีวการแพทย์ มาเป็น โอกาสทางธุรกิจ ย่อมไม่ทำธรรมดาสำหรับ นักธุรกิจมืออาชีพ







"17เมย54 เวลา17.00น.อบรมและทดสอบความรู้ความเข้าใจผลิตภัณฑ์ BIMXPERT ณ สนญ. เพื่อรับสิทธิ์การขอเปิดศูนย์ BIMXPERT (โปรดบอกต่อนักธุรกิจผู้สนใจเปิดศูนย์ด้วยครับ) via urtms sys"


ประโยคสั้นๆ ที่ผ่านมาบน facebook หลายคนอาจจะมองข้ามไป แต่คนที่รู้จักคำว่า bim ย่อมสนใจไม่น้อย เพราะบิมหรือ bim คือ ขบวนการสร้างสมดุลระบบภูมิคุ้มกันอันนำไปสู่การมีร่างกายแข็งแรงสามารถต่อสู้โรคร้ายต่างๆได้ นั่นเอง


เมื่อ บิม เป็น bimxpert ย่อมมีนัยยะ ของ ชื่อส่งผ่านถึงทุกคนว่า เราเชี่ยวชาญเรื่อง ระบบภูมิคุ้มกัน แบบนี้ จะถือเป็นเรื่องสามัญหาได้ไม่


สนใจอยากรู้ เพื่อ โอกาสทางธุรกิจ โทร 080 541 3111

วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2554

ศูนย์การจัดการ และ บ่มเพาะธุรกิจ สไตล์Diamond Model

ค้นหาตัวตน หลุดพ้นพันธนาการ   ปลุกวิญญาณผู้ชนะ


เริ่มวาระของเรา รวมพลังพัฒนา                    ประกาศศักดา ว่าเรานี้ คือ เพชร


ไมเคิล อี พอร์เตอร์ (Michael E. Porter) เป็นนักวิชาการด้านยุทธศาสตร์ หรือกลยุทธ์ (Strategy) ที่มีชื่อเสียงมากในช่วงทศวรรษที่ 1980 ตั้งแต่เขาอายุเพียง 33 ปีแต่เขียนหนังสือเล่มแรก Competitive Strategy : Techniques for Analyzing Industries and Competitors ขึ้นมาสร้างความสั่นสะเทือนอย่างมากให้กับวงการพอร์เตอร์ใช้พื้นฐานจากงานเขียน 2 เล่มแรกก้าวข้ามไปทำการศึกษาและวิจัยในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่โดดเด่นของ 10 ชาติทั่วโลก 

หนังสือ Competitive Advantage of Nations…และทฤษฎี  Dynamic Diamond Model คือ แรงบันดาลใจ



Dynamic Diamond Model นี้ประกอบด้วย
1 เงื่อนไขด้านปัจจัย (Factor Conditions) คือ ความสามารถของชาติในการเปลี่ยนทรัพยากรพื้นฐาน ทรัพยากรธรรมชาติ และทรัพยากรอื่นๆ ให้เกิดความได้เปรียบ
2 เงื่อนไขด้านความต้องการ (Demand Conditions) คือ ปริมาณและระดับความต้องการของผู้บริโภคต่อสินค้าของอุตสาหกรรมที่ผลิตได้
3 อุตสาหกรรมสนับสนุนและเกี่ยวเนื่อง (Quality of related and supporting industries) คือ คุณภาพของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องและอุตสาหกรรมสนับสนุน เพื่อค้ำจุนสถานของการเป็นผู้นำของอุตสาหกรรมนั้นๆ ในเวทีโลก และ...
4 กลยุทธ์-โครงสร้างของบริษัท และการแข่งขัน (Company Stratey, Structure and rivalry) คือ การตัดสินใจว่าธุรกิจของชาติจะเกิดขึ้นรวมกลุ่ม และบริหารได้อย่างไร
ทฤษฎีใหม่ขึ้นมาเพื่อวิเคราะห์ว่า ชาติ, รัฐ และภูมิภาคนั้น ๆ ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจขึ้นมาได้อย่างไร และอะไรเป็นจุดกำเนิดแห่งความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจนั้น





Dynamic Diamond Model (ทฤษฎีเพชรพลวัต) คือ ปัจจัยของความได้เปรียบในการแข่งขันระดับโลก 


บริษัทชั้นนำทั่วโลก จึงถูกนำมาเปรียบเทียบกับ ทฤษฎี Dynamic Diamond Model (ทฤษฎีเพชรพลวัต) ทันที เพื่อหาคำตอบว่า อะไรเป็นจุดกำเนิดแห่งความเจริญรุ่งเรืองทางบริษัทนั้น 


เมื่อผมได้ฟังบรรยายของท่าน ดร.พิเขษฐ์ วิริยะจิตรา กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเชียนไฟโต้ซูติคอลล์ จำกัด (มหาชน) ผมรู้สึก ทึ่ง ในความรู้ด้าน ชีวโมเลกุล และ ระบบการทำงานของภูมิคุ้มกัน เมื่อกลับมาบ้านจึงลองนำ ทฤษฎี เพชรพัลวัต Dynamic Diamond Model มาเปรียบเทียบกับ ธูรกิจของท่าน และก็เป็นอย่างที่คิดเลยครับ นโยบายและการบริหารของท่านดร.พิเชษฐ์ ตรงตามทฤษฎี เพชรพัลวัต ทุกประการ เหมือน แพรนด้า และ ซีพี 2บริษัท ที่ผมเคยใช้ทฤษฎีนี้เปรียบเทียบมาแล้วเมื่อหลายปีก่อน




ผมเห็นโอกาสทางธุรกิจ

ด้วยนโยบายของ ท่านดร.พิเชษฐ์ ที่นำ การตลาดทางตรง เข้ามาใช้ในการขับเลื่อนในหลายรูปแบบ ทำให้ผมมีโอกาสที่จะเติบโตไปพร้อมกับบริษัทฯได้ ผมจึงบอกกับตัวเองว่า นี่คือ โอกาส

ผมชวนเพือนพ้องน้องพี่ในแวดวงวิชาการมานั่งจิบกาแฟ และเล่าเรื่องราวข้างต้นให้ทุกคนฟัง น่าแปลกใจมาก เพราะนักวิชาการโดยมากมักแอนตี้ ระบบการจ่ายผลตอบแทนแบบหลายชั้น หรือ แอนตี้ นักขายตรง แต่ไม่ใช่ะลย วันนั้นทุกคนพูดตรงกัน คือ 

"ควรเปิดศูนย์ขยายธุรกิจ สร้างเถ้าแก่ใหม่ให้สังคม ด้วยสินค้าของท่านดร.พิเชษฐ์ กันดีกว่า โดยมีการบริหารจัดการที่ถูกต้องเป็นวิชาการ ที่สำำคัญ ต้องไม่เป็นมะเร็งของสังคม"

นี่คือที่มาของ ศูนย์จัดการและบ่มเพาะธุรกิจ โดยมีสโลแกนว่า Diamonds Are Forever และ Facebook Pageคือ Diamonds Are Forever  ที่เน้นการแบ่งปัน สิ่งดีๆ เพราะการตลาดทางตรงสามารถคืนผลตอบแทนได้ในระยะยาว จากข้อกำหนดของบริษัทโดยไม่ไปยุ่งกับราคาขายปลีก ทำให้ผู้บริโภคซื้อผลิตภัณฑ์ในราคาเดียวกัยทั่วไทย







คุณ กัมปนาท บุญราศรี เจ้าของระบบ URTMS ระบบบริหารจัดการสมัยใหม่ อนุญาติให้ศูนย์นำความรู้ในเบื้องต้นมาใช้ในศูนย์บ่มเพาะ และสามารถเข้าเรียนในระดับAdvanceได้จากเจ้าของระบบ หลังการสอบจากศูนย์บ่มเพาะแล้ว



สนใจติดต่อ ศูนย์จัดการและบ่มเพาะธุรกิจ 

เลขที่316 ชั้น8 อาคารเรือนไม้น้ำ ซ.วงศ์สว่าง11 ถนนวงศ์สว่าง บางซื่อ กทม. 10800
โทร 02 976 9595 แฟ๊กซ์ 02 556 1661 ต่อ 122
หรือ โทร 080 541 3111
อีเมล์ bimcenter@hotmail.com