ศูนย์การจัดการและบ่มเพาะธุรกิจ (Business Incubation and Management Center)
โครงการศูนย์ การจัดการและบ่มเพาะธุรกิจ จัดตั้งขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ส่งเสริมให้นำศักยภาพที่มีอยู่ในตัวเรา ทุกคนออกมาใช้เชิงสร้างสรรค์ (ตามแนวคิด Diamond Model) รวมถึงการจัดการให้กับธุีรกิจขนาดย่อย โดยมุ่งหวังให้สมาชิก เป็นนักธุรกิจมีศักยภาพ ดุจดั่ง เพชร (Diamonds Are Forever)

วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554

โลกธุรกิจวันนี้ ระบบบริโภคนิยม


ปัจจุบันวิถีชีวิตของผู้คนทั่วโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่วนหนึ่งเกิดจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี วิธีการสื่อสารใหม่ๆ การรับข่าวสารที่รวดเร็ว จนเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งมีผลกระทบต่อครอบครัวและ วิถีแห่งชีวิตประจำวัน


การสร้างอุปสงค์ เพื่อสร้างตลาดใหม่ ในการตอบสนองวิถีชีวิต คือการมองหาและเข้าสู่ น่านน้ำสีฟ้า (Blue Ocean Strategy) เครือบริษัทชั้นนำข้ามชาติจึงจะต้องดำเนินงานอย่างรวดเร็ว ในการเปลี่ยนความคิดให้กลายเป็นความต้องการ เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ งานของพวกเค้า ด้วยการทำวิจัยทางการตลาด ดูว่าชีวิตกำลังเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด, อย่างไร เพื่อที่ว่าเครือบริษัทชั้นนำข้ามชาติจะสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ไปในทิศทางนั้น ขณะเดียวกันในทางขนาน เอเยนซีจะดำเนินการสื่อสารเพื่อชักนำความรู้สึกให้เห็นหรือคล้องตามในความสำคัญ ความจำเป็นของวิถีคนเมือง หรือ วิถีผู้นำทางสังคม เพื่อช่วงเวลานำสินค้าออกสู่ตลาด จะมีผู้คนชื่นชอบและไว้ใจ นำไปสู่การบริโภคและใช้อย่างต่อเนื่อง หรือ เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน


การโฆษณาแอบแฝง เริ่มต้นด้วย รายงานเชิงสารคดี บทความบทสัมภาษณ์ หรือ ประเด็นข่าว เพื่อใช้เป็นการสื่อสารเชิงการตลาดในหลายมิติ และจะนิยมสร้างรูปแบบการสื่อสารใหม่ๆเพื่อกระตุ้นความรู้สึกอยากแก่คนในสังคม โดยเครือบริษัทชั้นนำข้ามชาติสำรวจหาวิธีการใหม่ๆ เพื่อใช้ในการพัฒนาช่องทางของธุรกิจ เช่น การสื่อสารผ่านนักประชาสัมพันธ์บนเครือข่ายออนไลน์ (Blogger) เป็นต้น


เครือบริษัทชั้นนำข้ามชาติมีรากฐานที่มั่นคงในหลายประเทศ และมีสายสัมพันธ์ที่ความเกี่ยวข้องกับสังคมในส่วนต่างๆในทุกประเทศที่ดำเนินงาน โดยมอบหมายการตัดสินใจบางส่วนให้คนท้องถิ่นบริหารจัดการ (ต้องเป็นคนที่เข้าใจความต้องการของบริษัทฯและค่านิยมของชุมชนของเขา) ซึ่งช่วยให้เครือบริษัทชั้นนำข้ามชาติพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามความต้องการ ชุมชนได้ถูกโน้มน้าวมาแล้ว เช่น ชวนมอง ไม่ว่าผู้บริโภคจะมีวัฒนธรรมแบบใด หรือสัญชาติใดก็ตาม ผลิตภัณฑ์ของเครือบริษัทข้ามชาติ จะถูกทำให้เชื่อว่ามีลักษณะเป็นหนึ่งเดียวทั่วโลก (สวยตามๆกันของคนทั้งโลก) ในขณะเดียวกัน เครือบริษัทชั้นนำข้ามชาติจะนำเสนอผลิตภัณฑ์ราคาต่ำเพื่อเป็นผู้นำเฉพาะในตลาดท้องถิ่น อีกทางหนึ่ง


ดังนั้น ก่อนซื้อหาลองหยุดคิดกันซักนิด แค่เรื่องสินค้าอุปโภคบริโภค ที่ใชัในชีวิตประจำวัน เราก็จะประหยัดได้วันละหลายบาท และส่วนธุรกรรมใดที่สามารถใช้บริการท้องถิ่นกันเองได้ ก็ใช้ซะ ส่วนความเชื่อที่ถูกล้างสมองไว้ค่อยๆใช้ สมาธิ แก้ไขดู คิดกันดูง่ายๆ เราอยู่บนโซนเส้นศูนย์สูตร แต่เราจะผิวขาวเป็นสาวเกาหลี ได้...จริงหรือ หรือ โฆษณา “แจกรถเบ็นซ์ แก่นักขายทั่วโลก คุณคือรายต่อไป” ถามจริงๆ มีกี่คนที่ได้ กี่คนที่ไม่ได้ ทำไมเราต้องรีบร่อนรวยจนเกิดความอยาก จนสุดโต่ง หยุดคิดซักนิด เราจะรวยทุกคนแน่นอน



หมายเหตุ ผู้เขียน โอกาสหน้า คุยกันเรื่อง การตลาดของธุรกิจท้องถิ่น

White Ocean Strategy ในแบบของผม

เมื่อเร็วๆนี้ มีหนังสือการตลาดของฝรั่ง 2 เล่ม ที่ได้รับการกล่าวขวัญมากในกลุ่ม นักการตลาด และ นักวางกลยุทธ์ ในแนวคิด น่านน้ำสีฟ้า หรือ Blue ocean Strategy ที่มุ่งเน้น การวางตำแหน่งทางการตลาดใหม่ๆ เพื่อสร้างความแตกต่างที่โดดเด่น เป็นการฉีกหนี และเพื่อเอาชนะการแข่งขัน ทั้งนี้เพราะในแนวคิด Blue ocean ในโลกธุรกิจวันนี้การแข่งขันเต็มไปด้วยการตัดราคา หรือ การใช้กลยุทธ์ราคาเป็นหลัก จึงเปรียบเสมือนเป็นทะเลสีเลือดหรือ Red ocean นั่นเอง (น่านน้ำสีแดงที่แดงด้วยเลือดของผู้ค้าเอง ทั้งรายเล็กและรายใหญ่) ด้วยกลยุทธ์ราคาเป็นกลยุทธ์ที่ผู้ชนะ จะชนะได้ ต้องชนะบนกองเลือดเท่านั้น เราเห็นกันแล้วในสงครามค้าปลีก สำหรับ น่านน้ำสีฟ้า ดูเป็นกลยุทธ์ที่สดใส แต่จะไม่ยั่งยืนคงตอบยาก เพราะคงต้องมีปัจจัยมีหลายส่วนในการทำให้ยั่งยืน

ในโลกของเราวันนี้ เกิดปรากฏการณ์ใหม่ นักคิดชาวเอเชียหลายท่านได้แสดงทัศนะและได้รับการยอมรับจากทั่วโลก หนึ่งในนั้นคือผู้คิดเรื่องกลยุทธ์แบบยั่งยืน ผู้คิดท่านเรียกชื่อกลยุทธ์ของท่านว่า White Ocean Strategy หรือ กลยุทธ์น่านน้ำสีขาว มีการเชิญท่านักคิดคนนี้ไปปาฐกทั่วโลก และได้มีการจัดพิมพ์หนังสือดังกล่าวในเมืองไทยเรียบร้อยแล้ว สำหรับฉบับภาษาไทยจัดพิมพ์โดยไม่ต้องแปล เพราะนักคิดท่านนั้นเป็นคนไทย ชื่อ ดนัย จันทร์เจ้าฉาย

“White Ocean Strategy กลยุทธ์น่านน้ำสีขาว” เป็นหนังสือแนวบริหารในวิถีพุทธ ที่ตอกย้ำสัจธรรมเรื่อง "ทำดีย่อมได้ดี" (แค่นี้หลายคนร้องยี้..แล้ว ไม่เชื่อใช่มั้ยละ) ด้วยการเชื่อมโยงหลักธรรมของพุทธมาเป็นพื้นฐานในการบริหารงานและนำมาประยุกต์ใช้กับวิถีชีวิตแบบตะวันตกของคนในสังคมเมือง สังคมบริโภคนิยม ได้อย่างผสมผสานกลมกลืน, สอดคล้องไหลลื่น, จนกลายเป็นคลื่นสีขาวแห่งน่านน้ำสีขาว นั่นเอง หนังสือยังเผยเคล็ดลับของบุคคลและองค์กรชั้นนำทั้งของไทยและต่างประเทศ ที่ยึดมั่นอยู่ในเส้นทางสีขาว (ในสัมมา-มาร์เก็ตติ้ง) ยึดมั่นในการ “ทำดี” เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนและเปลี่ยนแปลงสังคม

"White Ocean Strategy กลยุทธ์น่านน้ำสีขาว" จึงเป็นกลยุทธ์สำคัญในการฝ่าออกจากภาวะวิกฤตทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมที่ทุกคนกำลังเผชิญอยู่ เป็นการเปลี่ยนสมรภูมิธุรกิจแห่งการแข่งขันแบบการรบ เป็นสมรภูมิธุรกิจแห่งการแข่งขัน “ทำดี” มีคุณธรรม ทำให้ผู้บริโภคใช้มโนธรรมตัดสินใจซื้อ และสังคมก็จะน่าอยู่ในที่สุดเนื้อหาในเล่ม บวกกับภาษาที่ใช้ จะทำให้คุณคล้อยตาม มองเห็นฐานความคิดในการทำธุรกิจแบบยั่งยืน หากคุณเป็นผู้บริหาร หรือ พนักงานในองค์กร คุณและผม สามารถยึดมั่นอยู่บนคุณงามความดีได้ และปรับมุมมองจากที่คอยตักตวงผลประโยชน์จากสังคม มาเป็นการช่วยเหลือ แบ่งปัน และ เป็นส่วนหนึ่งของส่วนรวม โดยคำนึงถึงภาพกว้างของ People, Planet, Profit และ Passion เป็นแรงขับเคลื่อนในการบริหารงานทุกภาคส่วน

สำหรับองค์กร เริ่มตั้งแต่พันธกิจ วิสัยทัศน์ นโยบาย การผลิต การบริหาร การตลาด การสื่อสาร การบริหารงานบุคคล และอื่นๆ อีกมากมายที่เกี่ยวข้อง

สำหรับตัวคุณ เริ่มต้นจากจิตสำนึก หน้าที่ของการเป็นส่วนหนึ่งของส่วนรวม โดยเฉพาะนักขาย เริ่มต้นง่ายๆ แค่นี้เององค์กร หรือ แม้แต่ตัวคุณ จะอยู่อย่างยั่งยืน มั่นคง สง่างาม White Ocean Strategy คือหนังสือที่คุณควรอ่าน (โหมดโฆษณา)


หมายเหตุ ผู้เขียน1. สัมมามาร์เก็ตติ้ง เป็นคำกล่าวของคุณดนัย ผมเพิ่มเติม(นิดนึง) คือ การตลาดเพื่อสนองตอบอุปสงค์-อุปทานที่เกิดขึ้นจริง มิใช่การตลาดที่มุ่งสร้างอุปสงค์เทียมแบบในสังคมบริโภคนิยม เช่น โฆษณาช่วยสังคม “กินเบียร์เรา เด่วเราไปซื้อผ้าห่มมาแจก” 2. สัมมาวาจา คำเก่าคำนี้ ผมไม่ได้ปฏิบัติเลย3. สัมมาอาชีวะ ทุกวันนี้มีแต่ สัมมะเรเทเมา