การตลาดคืออะไร
Phillips Kotler ได้อธิยายไว้ว่า การตลาดที่แท้จริง คือ "กระบวนการทางสังคม ที่บุคคล หรือ กลุ่ม จะพยายามให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ตนต้องการจากบุคคลอื่น โดยการสร้างสรรค์และนำเสนอคุณค่าบางอย่างที่เป็นที่พอใจของอีกฝ่ายหนึ่งเป็นการแลกเปลี่ยน"
นั่นคือการสร้างบรรยากาศแห่งการแลกเปลี่ยน ที่มีความพอใจและคุณค่าของทั้งสองฝ่ายเกิดขึ้น ดังนั้นการจะนำกลยุทธ์ทางการตลาดมาใช้ กับงานห้องสมุดและบริการข่าวสาร ทำได้ด้วย การหาแนวทางสร้างสรรค์คุณค่าบริการ หรือ การสื่อสารคุณค่า และ เพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงให้แก่ผู้ใช้บริการ ให้เกิดความพอใจนั่นเอง
(ในปัจจุบัน คำว่า "การตลาด" หรือ "นักการตลาด" มักถูกเข้าใจคลาดเคลื่อนไปจากความหมายที่แท้จริง กล่าวคือ ผู้คนบางกลุ่มเข้าใจไปในทางลบว่า เป็นงานหรือบทบาทหน้าที่ดึงดูด (หรือ ล่อลวง) หรือ จูงใจ ให้เกิดการซื้อโดยหลงผิดแก่ผู้บริโภค ซึ่งถ้าเป็นการกระทำดังกล่าว เราจะไม่เรียกว่า “การตลาด” แต่ควรเรียกว่า “การฉ้อโกง” และถ้าบุคคลใดที่กระทำพฤติกรรมดึงดูดให้หลงผิด เราก็ไม่เรียกว่า “นักการตลาด” แท้จริงแล้วบุคคลนั้นเป็น “นักล่อลวง” เพราะ “การตลาด” ต้องเป็นกระบวนการภายใต้กรอบของศีลธรรมและจริยธรรมในสังคม)
แนวความคิดทางการตลาดสมัยใหม่
แนวความคิดทางการตลาด หมายถึง แนวทางของธุรกิจ ที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการจัดสรรทรัพยากรของกิจการ เพื่อสร้างสรรค์ความพึงพอใจให้กับลูกค้า(สูงสุด) ในระดับที่กิจการได้กำไร
วิวัฒนาการของแนวความคิดทางการตลาด
1. แนวความคิดที่มุ่งการผลิตเป็นหลัก (Production Orientation Concept)
2. แนวความคิดที่มุ่งตัวผลิตภัณฑ์เป็นหลัก (Product Orientation Concept)
3. แนวความคิดที่มุ่งการขายเป็นหลัก (Sales Orientation Concept)
4. แนวความคิดที่มุ่งตลาดเป็นหลัก (Market Orientation Concept)
5. แนวความคิดที่มุ่งสังคมเป็นหลัก (Social Orientation Concept)
เปรียบเทียบแนวความคิดทางการตลาดสมัยเก่า กับ แนวความคิดทางการตลาดสมัยใหม่
· แนวความคิดสมัยเก่า (Old Marketing Concept) มุ่งการผลิตเป็นหลัก
· แนวความคิดสมัยใหม่ (New Marketing Concept) ความสำคัญอยู่ที่ผู้บริโภค
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น