ศูนย์การจัดการและบ่มเพาะธุรกิจ (Business Incubation and Management Center)
โครงการศูนย์ การจัดการและบ่มเพาะธุรกิจ จัดตั้งขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ส่งเสริมให้นำศักยภาพที่มีอยู่ในตัวเรา ทุกคนออกมาใช้เชิงสร้างสรรค์ (ตามแนวคิด Diamond Model) รวมถึงการจัดการให้กับธุีรกิจขนาดย่อย โดยมุ่งหวังให้สมาชิก เป็นนักธุรกิจมีศักยภาพ ดุจดั่ง เพชร (Diamonds Are Forever)

วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2554

ร้านค้าปลีก แบบSpecialty Store

จุดเปลี่ยนอนาคตค้าปลีกไทย
ร้านค้าแบบSpecialty Store




Specialty Store VS One Stop Shopping
ระบบค้าปลีกแบบ Modern Trade คือผลงานของระบบทุน การเติบโตของModern Tradeจึงเป็นลักษณะแบบ One Stop Shopping และ กระจายตัวขยายสาขาเข้าสู่ทุกพื้นที่ ที่มีศักยภาพของประเทศไทย มันจะส่งผลดีต่อระบบภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับรัฐบาล และ ซัพพลายร์ขนาดใหญ่ เท่านั้น แต่มันจะทำลายระบบโซ่อุปทานของชุมชน ทำให้ชุมชนในพื้นที่ดังกล่าว เกิดภาวะขาดกระแสเงินสดเฉียบพลัน และ เรื้อรัง (จากกรณี ศึกษาของหาดใหญ่)

การต่อสู้ของชุมชน ในระบบทุน คือ การสร้างภูมิคุ้มกันโดยใช้ระบบตลาดต่อสู้กับระบบตลาด ดังนั้น ผู้ประกอบการในชุมชน ต้องศึกษาระบบตลาด โดยเฉพาะ “การตลาดค้าปลีก สมัยใหม่” นั่นคือ การสร้างร้านค้าปลีกของชุมชน โดยคนชุมชน เพื่อชุมชน

Specialty Store
ร้านค้าค้าปลีก แบบสเปเชียลตี้สโตร์ (Specialty Store) คือ ร้านจำหน่ายสินค้าเฉพาะประเภท เป็นทางเลือกใหม่ที่ผู้ค้าปลีกในชุมชน ตั้งแต่ผู้ประกอบการรายย่อย หรือแม้กระทั้งดีพาร์ทเม้นสโตร์ ชุมชน และ ดิสเคาน์สโตร์ ต้องให้ความสนใจ หากต้องการอยู่รอด และอาจต้องหันมาพึ่งรูปแบบนี้ในการขยายสาขา และเครือข่าย

จากปัจจัยที่สำคัญของค้าปลีกไทย อันเนื่องจากการแข่งขันที่รุนแรง ข้อได้เปรียบของทุนต่างชาติ กฎหมาย มีข้อจำกัดบ้างสำหรับการขยายสาขาของห้างสรรพสินค้า ดิสเคาน์สโตร์ และ พฤติกรรมการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป แต่ก็ไม่ทำให้การขยายตัวของค้าปลีกขนาดใหญ่สะดุดลง แล้วธุรกิจชุมชนจะทำอย่างไร ภาวะกระแสเงินสดหมุนเวียนของชุมชน จะเปลี่ยนไปอย่างไร ไม่มีใครพูดถึง การปรับตัวแบบตัวใครตัวมันดูจะเป็นแนวทางที่ทุกคนคิด ดังนั้นถ้าเราจะปรับตัวเพื่อยืนหยัดในโลกธุรกิจเราจะทำอย่างไร

ระบบค้าปลีกสมัยใหม่ มีการใช้ช่องทางในการจำหน่ายสินค้าหลายรูปแบบ และ รูปแบบที่น่าสนใจคือ ค้าปลีกรูปแบบ Specialty Store ร้านจำหน่ายสินค้าเฉพาะประเภท ในปัจจุบันได้ปรากฎความสำเร็จเด่นชัดกว่าเมื่อก่อนมาก

นายทศ จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทเซ็นทรัลรีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด เคยให้ความเห็นว่า “ค้าปลีกรูปแบบ Specialty Store รวมไปถึงแบบ Category Killer มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในอนาคตอีก 2-3 ปีข้างหน้านี้ ด้านค้าปลีกแบบห้างสรรพสินค้าจะมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องแต่ไม่หวือหวา แต่ค้าปลีกแบบซูเปอร์เซ็นเตอร์ภายใน 2 ปีนี้ยังคงเติบโตอย่างสูงต่อไป จากนั้นก็จะเติบโตช้าลง เพราะมีการขยายตัวมากจนเต็มในเมืองไทยและจำต้องไปยังเมืองเล็ก”
“เพาเวอร์ บาย เป็น 1 ในกลุ่มสินค้าดาวรุ่ง และจะทำรายได้เพิ่มมากขึ้นในกลุ่ม ค้าปลีกแบบร้านสเปเชียลตี้สโตร์ของเซ็นทรัลในอนาคต และอีก 2-3 ปีข้างหน้าจะยิ่งเด่นชัดมากยิ่งขึ้น ” กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทเซ็นทรัลรีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด ให้ความเห็น

นายคุณวุฒิ ธรรมพรหมกุล กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) จำกัด ผู้บริหารร้านค้า Specialty Store โฮมโปร กล่าวว่า “ สินค้าที่จำหน่ายในร้านค้าปลีกในอนาคต จะเป็นNiche Market เพิ่มมากขึ้น[color] ส่วนสินค้าที่จำหน่ายเป็นแบบ Mass หรือสินค้าจำหน่ายจำนวนมากและหลากหลายไม่ค่อยได้รับความนิยมนัก เนื่องจากพฤติกรรมของลูกค้าในการเลือกซื้อสินค้าเปลี่ยนไปหันใช้บริการตรงกับความต้องการ จากร้านจำหน่ายสินค้านั้นที่สะดวก”

อาจารย์ ฉัตรพล หิรัญกสิ ที่ปรึกษาและนักวิชาการของศูนย์นวัตกรรมนิด้า ให้ความเห็นว่า “ค้าปลีกในรูปแบบสเปเชียลตี้สโตร์จะประสบความสำเร็จได้ ต้องมีจุดเด่นเรื่องทำเลที่สะดวกใกล้ชิดผู้บริโภค ความหลากหลายในตัวสินค้าหรือในกลุ่มสินค้าที่ทำตลาด อีกทั้ง สินค้าต้องมีความโดดเด่น หรือ มีคุณสมบัติที่ผู้ประกอบการรายอื่นๆ ไม่มี (Exclusive Brand or New Feature) มิฉะนั้นจะถูกกลืนไปกับค้าปลีกแบบโมเดิร์นเทรดทันที สเปเชียลตี้สโตร์ ไม่จำเป็นต้องมีขนาดใหญ่ แต่จำเป็นต้องมีบุคลิกและสินค้าที่จำหน่ายชัดเจน ร้านขายสินค้าOTOPของประเทศญี่ปุ่น คือ คำตอบด้วยภาพที่ชัดเจน” อาจารย์กล่าวทิ้งท้าย



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น