ศูนย์การจัดการและบ่มเพาะธุรกิจ (Business Incubation and Management Center)
โครงการศูนย์ การจัดการและบ่มเพาะธุรกิจ จัดตั้งขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ส่งเสริมให้นำศักยภาพที่มีอยู่ในตัวเรา ทุกคนออกมาใช้เชิงสร้างสรรค์ (ตามแนวคิด Diamond Model) รวมถึงการจัดการให้กับธุีรกิจขนาดย่อย โดยมุ่งหวังให้สมาชิก เป็นนักธุรกิจมีศักยภาพ ดุจดั่ง เพชร (Diamonds Are Forever)

วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2554

ยุทธศาสตร์เชิงท้องถิ่น (Localization Strategy)

การรับมือทุนระดับโลก (Global Comapany) ทำได้ด้วย ยุทธศาสตร์เชิงท้องถิ่น (Localization Strategy) 



เมื่อพูดถึงเรื่องของกลยุทธ์การบริหารจัดการโดยการปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารให้เป็นแบบท้องถิ่น (Localization) นั้น มักเกิดสองมุมมองที่นักบริหารมักจะเข้าใจผิด คือ หนึ่ง คนมักจะเอาไปเปรียบเทียบกับกลยุทธ์การบริหารแบบโลกาภิวัฒน์ (Globalization) แล้วเปรียบเทียบกันว่า องค์กรควรเลือกใช้กลยุทธ์อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งจริงๆแล้ว ไม่ถูกต้องนัก  
กลยุทธ์ในระดับธุรกิจ (Business strategy) เป็นการปรับเปลี่ยนของกระบวนการ (Processes)  ผลิตภัณฑ์ (Product) การให้บริการ (Service) เพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดที่แตกต่างกัน
ญีปุ่นเจ้าตำรับ ใช้กลยุทธ์ Localization 
ทำไมตลาดรถยนต์บ้านเรารถญี่ปุ่นจึงเป็นผู้นำในตลาด ไม่ใช่รถค่ายยุโรป หรือ อเมริกัน ทั้งๆที่สองค่ายนี้ เข้ามาดำเนินธุรกิจในบ้านเราก่อนค่ายรถยนต์จากญี่ปุ่นเสียอีก มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เข้าไปทำวิจัยในบริษัทรถยนต์ชั้นนำ 7 แห่งของประเทศไทยพบว่า กลยุทธ์ Localization ในทางปฏิบัตินั้นไม่ได้เป็นเพียงแค่การปรับเปลี่ยนของผลิตภัณฑ์และการให้บริการเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงด้านการบริหารจัดการด้วย เช่น การนำข้อมูลของตลาดท้องถิ่นมาใช้ในการวางแผนกลยุทธ์  (Local Information Usage)เพิ่มปรับเปลี่ยน การบริหารจัดการ ให้คนท้องถิ่นมีอำนาจในการตัดสินใจ (Localize of Decision Making) มีส่วนร่วมในการวางแผนกลยุทธ์  การสร้างความสัมพันธ์กับแรงงานท้องถิ่น การสร้างเครือข่ายกับผู้ผลิตวัตถุดิบท้องถิ่น (Local Networking) และยังรวมถึงการเป็นบริษัทท้องถิ่น (Localization of Company)ไม่ใช่บริษัทระดับโลก (Global Company) ด้วย  

กรอบแนวคิดเมื่อต้องการนำ Localization ไปใช้ 
ปัจจุบันบริษัทจำเป็นต้องแข่งขันกับคู่แข่งในระดับโลกที่มีความเป็น Globalization หากแต่จะเป็นผู้นำอย่างยังยืนจำเป็นต้องสร้างความแตกต่าง การนำ Localization นับเป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งที่นำมาใช้ได้เพื่อสร้างความแตกต่างและเสริมสร้างความสามารถทางการแข่งขันได้
กรณีศึกษาที่น่าสนใจศึกษาคือ กรณีของอุตสาหกรรมรถยนต์ของประเทศไทย ท่านเคยสงสัยไหมว่า (อันนี้ไม่นับรวมว่ารถญี่ปุ่นมีราคาที่ถูกกว่า ซึ่งทำให้คนไทยซื้อได้ง่ายกว่า ซึ่งอันที่จริงการผลิตรถที่มีคุณภาพและมีราคาสมเหตุผลตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งก็เป็น รูปแบบของ Localization แบบหนึ่งนั่นเอง

หัวใจของ Localization 
กลยุทธ์ Localization นั้นสามารถทำได้ใน 7 แบบคือ
  1. การใช้ประโยชน์จากข้อมูลหรือองค์ความรู้ท้องถิ่น (Localization of Information) เช่น การใช้ข้อมูลหรือองค์ความรู้มาพัฒนาต่อยยอดและนำเสนอให้ครอบคลุมทั้งโลก 
  2. การสร้างเครือข่ายและองค์ความรู้ท้องถิ่น (Localization Network & Knowledge) เช่น การสร้างสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน การอบรมวิทยาศาสตร์เชิงการแพทย์ เกิดเป็นองค์ความรู้ในระดับสากล
  3. การปรับผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้อง (Localization of Product)  เช่น โตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์ โลชั่นนวดสลายไขมันด้วยตนเอง รุ้นจำหน่ายในประเทศมีประสิทธิภาพดีกว่ารุ่นที่ส่งออก
  4. การใช้วัตถุดิบในประเทศ (Localization of Resources) เช่น ใช้ผลไม้ไทยเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต ผ้า พลาสติกที่ผลิตในประเทศมาเป็นส่วนประกอบรถยนต์ 
  5. การทำ CSR รวมถึง ธรรมาภิบาล (Localization of Image) เช่นโรงเรียนสีขาวของโตโยต้า โครงการรวยถ้วนหน้าของ บมจ. เอเชียนไฟโต้ซูติคอลล์ (การจัดสรรหุ้นสามัญก่อนเข้าตลาดหลักทรัพย์ให้พนักงานฯ) 
  6. การสร้างความสัมพันธ์กับท้องถิ่น (Localization of Relationship) เช่น การได้รับรางวัลดีเด่น จากกรมสรรพกร
  7. การใช้คนท้องถิ่นในการบริหารงาน (Localization of Human Resources) 



สรุปหัวใจของ Localization คือ Consumer Centric “เพื่อคนไทย”

การทำ Localization ต้องการเวลาและความมุ่งมั่นในการที่จะนำกลยุทธ์มาใช้ให้เกิดเป็นความสามารถในการแข่งขันของบริษัทโดยเฉพาะในยุคการค้าไร้พรมแดนปลาใหญ่กินปลาเล็ก และ ธุรกิจสัญชาติญี่ปุ่นได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วในการเอาชนะได้ในทุกตลาดที่ต้องแข่งขันกับชาติตะวันตกเจ้าของแนวคิด Globalization โลกาภิวัตน์ สำหรับบริษัทของคนไทยที่ใช้กลยุทธ์ การบริหารให้เป็นแบบท้องถิ่น (Localization)ได้แก่
เครือซีเมนต์ไทย
วิริยะประกันภัย หาดทิพย์
บมจ. เอเชียนไฟโต้ซูติคอลล์
ซึ่งแต่ละบริษัทประสบความสำเร็จด้วยดีตลอดมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น